เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ร่าเริง แจ่มใส ไม่ชอบคนโกหก เกลียดคนดูดบุหรี่ รักคนหน้าตาดีๆๆฮ่าๆๆ จริงๆๆนะ เอาแต่ใจบ้างบางเวลา ไม่ชอบตามใจคนรอบข้างมากเท่าไหร่ รักทุกคนที่รักเรา ชอบเลี้ยงหมาและเล่นกับมันมากที่สุด อยากสวยเหมือน บริทย์นี สเปียร์ (เธอสวยมากๆชอบมากๆๆ) สุดท้ายนี้ที่จะกล่าวเป็นคนสนุกสนาน หัวเราะได้ทั้งวันเลย ฮ่า ๆๆๆๆๆๆๆๆ

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

อารมณ์ดี๊ ดีได้ด้วยอาหาร

ร่างกายกับจิตใจของเราสัมพันธ์กัน อาหารที่ดีจะกระตุ้นให้สมองโปร่งโล่งและจิตใจสดใส สิ่งที่คุณควรจะนึกถึงเวลากินเพื่อความสุขจึงควรจะเป็นสารอาหาร 5 ชนิดดังต่อไปนี้...
คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตมีส่วนสัมพันธ์อย่างมากกับกระบวนการผลิตเซโรโทนิน ฮอร์โมนแห่งความสุขที่จะช่วยกล่อมเกลาจิตใจ โดยคุณจะสังเกตได้ว่าคนที่ลดน้ำหนักแบบโลว์-คาร์บมักจะมีอารมณ์ฉุนเฉียว และสมองก็ต้องการน้ำตาลไปเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะมีประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ การศึกษามากมายที่บอกว่าคนที่มีโรคซึมเศร้ามักจะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำด้วย ทั้งนี้ คาร์โบไฮเดรตก็มีหลายประเภท และประเภทที่ดีก็มักจะอยู่ในผัก ผลไม้ อาหารธัญพืช (ตรงกันข้ามกับขนมหวาน เค้ก หรือโดนัท) เทคนิคในการกินก็คือ แบ่งเป็นมื้อเล็กๆ 5-6 มื้อ แต่ละมื้อกินคาร์โบไฮเดรตประมาณ 15 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่พบได้ในแอปเปิ้ลขนาดกลางหนึ่งลูก จะช่วยเลี้ยงสมองให้สดใสได้มากเลย
กรดไขมันโอเมก้า-3
สมองของมนุษย์ประกอบไปด้วยไขมันถึง 60% ผู้เชี่ยวชาญมากมายจึงเชื่อว่า ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 (เช่น ปลาแซลมอน ปลาแม็กเคอเรล และทูน่า) จะช่วยต้านอาการซึมเศร้า เพราะสารสื่อประสาทในสมองจะเคลื่อนตัวได้ดีกว่าในเมมเบรนไขมันที่เกิดจากกรดไขมันโอเมก้า-3 นอกจากนี้ ปลายังช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนิน ทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายขึ้นด้วย
วิตามินบี
วิตามินบีมากมายหลายชนิดมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง วารสาร BMJ เคยเผยแพร่ว่า มีงานวิจัยอย่างน้อย 8 ชิ้น ที่ระบุว่า 1 ใน 3 ของคนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นมักจะกินกรดโฟลิคน้อยกว่าคนอื่นๆ นี่ทำให้ระดับฮอร์โมนเซโรโทนินลดลงเช่นกัน สำหรับภาวะขาดวิตามินบี 6 จะะทำให้คุณรู้สึกซึมเศร้าและกระวนกระวาย นอกจากนี้ โรคซึมเศร้ายังเกี่ยวข้องกับการขาดวิตามินบี1 (ไธอามิน) หากปล่อยไปโดยไม่ได้รับการรักษา อาจจะทำให้เส้นประสาทเสียหายถาวร เช่นเดียวกับการขาดวิตามินบี 12 เจอวิตามินบีได้ที่...
B 6 : เนื้อสัตว์ กล้วย อาหารธัญพืช ถั่ว
B 12 : ตับ หอยนางรม หอยแครง ไก่งวง ปู
B 1 : หน่อไม้ฝรั่ง เห็ด เมล็ดทานตะวัน ปลาทูน่า ถั่วเขียน มะเขือเทศ มะเขือม่วง

ทริปโตฟาน

นี่คือกรดอะมิโนจำเป็น (หมายความว่า ร่างกายเราต้องการมันแต่ไม่สามารถสร้างได้ด้วยตัวเอง) คือสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตเซโรโทนิน แต่ตรงกันข้ามกับความเชื่อส่วนใหญ่ ไก่งวงไม่ใช่แหล่งทริปโตฟานที่ดีที่สุด กลับเป็นข้าวโอ๊ต กล้วย นม มะม่วง และช็อกโกแลต ซึ่งควรเป็นแบบดาร์กช็อกโกแลต
แร่ธาตุ
คนไทยจำนวนมากไม่ได้รับแมกนีเซียมจากอาหารการกินมากพอ และเราจะพบว่าคนที่มีโรคจิตเภท เป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคไบโพลาร์ มีแมกนีเซียมน้อยมาก แต่เราสามารถหาได้จากถั่วดำ บร็อกโคลี่ดิบ ปลาน้ำเย็น ถั่ว หอยนางรม หอยเชลล์ เมล็ดพืช นมถั่วเหลือง ผักโขม เต้าหู้ และธัญพืชทั้งหลาย ส่วนอีกแร่ธาตุหนึ่งก็คือ แมงกานีส ที่หากมีน้อยก็จะทำให้คุณเสี่ยงกับโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน แมงกานีสจะมีมากใน จมูกข้าว อบเชย ขิง ขมิ้น ถั่วเปลือกแข็ง หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง ผงโกโก้ ดาร์กช็อกโกแลต ถั่วแระ พริก เมล็ดทานตะวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น